Thursday, October 2, 2014

Babylonia


หลังจากที่พวกอัคคาเดียนเสื่อมอำนาจลงเพราะการทำสงครามกับชนเผ่าอื่นๆที่เข้ามารุกรานและแย่งชิงความเป็นใหญ่ในระหว่างพวกสุเมเรียนด้วยกันเอง ในขณะเดียวกันชาวอามอไรต์ (Amorite) เริ่มมีอิทธิพลขึ้นมา ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมืองบาบิโลน ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส พระเจ้าฮัมมูราบี (Hammurabi, 1792-1745 B.C.) เป็นกษัตริย์ซึ่งสามารถรวบรวมดินแดนเมโสโปเทเมียให้เป็นหนึ่งเดียว และได้เรียกอาณาจักรของเขาว่า บาบิโลเนีย(Babylonia) อาณาจักรบาบิโลเนียเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองแบบรวมศูนย์ (Centralization) มีการเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์ทหาร รัฐควบคุมการค้าต่างๆ มีประมวลกฎหมายที่โด่งดังของพระเจ้าฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) จารึกอยู่บนแผ่นศิลา หลักการของกฎหมายมีรากฐานมาจากกฎหมายของพวกสุเมเรียน แต่ได้จัดให้เป็นระบบ และให้อำนาจหน้าที่ในการลงโทษผู้กระทำผิดแก่ชนชั้นปกครองยิ่งขึ้น ประมวลกฎหมายของฮัมมูราบี ยึดถือหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน (An eye for an eye) ในการลงโทษ กล่าวคือ ให้ใช้การทดแทนความผิดด้วยการกระทำอย่างเดียวกัน 

หลังจากที่พระเจ้าฮัมมูราบีสิ้นพระชนม์ อาณาจักรบาบิโลเนียจึงเริ่มอ่อนแอและถูกพวกฮิตไทต์ (Hittite) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและใต้ (ซึ่งมาจากเทือกเขาซากรอส ) เข้าปล้นสะดมเมื่อ 1590 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาพวกฮิตไทต์ก็เสียอำนาจให้แก่พวกคัสไซต์(Kassite) และ เข้าครอบครองกรุงบาบิโลนเป็นเวลาถึง 400 ปี ต่อจากนั้นก็มีจักรวรรดิอัสซีเรียที่ปกครองเมโสโปเตเมีย
The Ishtar Gate
เป็นอีกหนึ่งในสิ่งก่อสร้างของกษัตริย์ Nebuchadnezzar II นอกจาก สวนลอยที่จัดว่ามีความสวยงาม

เมื่อชาวอัสซีเรียนเสื่อมอำนาจลง ชาวคาลเดียน(Chaldean) ก็ได้ยึดครองอำนาจ และสถาปนากรุงบาบิโลนเป็นนครหลวงอีกครั้ง เกิดเป็นอาณาจักรบาบิโลนที่ 2 (Neo-Babylonian Empire) พวกคาลเดียนในบาบิโลเนียใหม่ได้ปรับปรุงด้านเกษตรกรรม และเริ่มต้นงานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางดาราศาสตร์ มีการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน แบ่งวันออกเป็น 12 คาบ คาบละ 120 นาที และยังสามารถพยากรณ์สุริยุปราคาตลอดจนคำนวณเวลาการโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบปีได้อย่างถูกต้อง ชาวคาลเดียนเป็นชาติแรกที่ริเริ่มนำความรู้ทางดาราศาสตร์มาทำนายโชคชะตาของมนุษย์

เมื่อ 539 ปีก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ถูกกองทัพเปอร์เซียโดยการนำของ พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great, 559-530 B.C.) เข้ายึดครองและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซียที่เรืองอำนาจอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันตก จึงนับได้ว่าประวัติศาสตร์ของดินแดนแถบเมโสโปเตเมียในยุคโบราณได้สิ้นสุดลงไปด้วย


No comments:

Post a Comment